Ads Header

Pages

Saturday, June 19, 2010

หมู่บ้านห้วยตองก๊อ กับวิถีแห่งความเรียบง่าย และสันโดษ

ห้วยตองก๊อ คำว่า “ตองก๊อ” นั้น คือต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใบคล้ายกับต้นตาล ใบใช้ทำหลังคาบ้านเหมือนใบหญ้าคา หมู่บ้านห้วยตองก๊อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ของต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน โดยก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อพ.ศ. 2332 หรือประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว




ประชากรโดยส่วนใหญ่ เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยง ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย สันโดษ ยึดถือประเพณีวัฒนธรรมเป็นสำคัญ อาชีพส่วนใหญ่ทำไร่หมุนเวียน ทำนาขั้นบันได และเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันมีจำนวนประชากร 294 คนหรือจำนวน 48 ครัวเรือน โดย 40 ครัวเรือนนับถือพุทธศาสนา อีก 8 ครัวเรือนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์

หมู่บ้านห้วยตองก๊อ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าไม้ใกล้รินห้วยปูลิง สภาพอากาศมีความเย็นเกือบตลอดปีและจะมีความหนาวเย็นที่สุดประมาณเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ของทุกปี เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากเผชิญกับความหนาวเย็น


กิจกรรมท่องเที่ยวของหมู่บ้านห้วยตองก๊อ ส่วนใหญ่จะเป็น การท่องเที่ยวในเชิงของการเรียนรู้และสัมผัสความเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าใน ท่ามกลางธรรมชาติ และ การเรียนรู้และศึกษาภูมิปัญญาชนเผ่า การตีมีด/ตีดาบ/ผ้าทอมือ/การทำนาขั้นบันได/ไร่หมุนเวียน




สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนถึงหมู่บ้าน ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เป็นเส้นทางขึ้นเขาลงห้วย เส้นทางที่ท้าทายการขับเคลื่อนรถยนต์ 4 ล้อ

สนใจท่องเที่ยวติดต่อ บ้านห้วยตองก๊อ นายวรกิจ วงศ์ศักดิ์ศรี บ้านเลขที่ 95 ม.7 ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000 โทร 08 4372 5516

ข้อมูลเพิ่มเติม สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Read more

วิวน้ำมหัศจรรย์ที่ หวงกั่วซู่

น้ำตกหวงกั่วซู่ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามอีกแห่งของมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน ด้วยความยิ่งใหญ่ของตัวน้ำตก จึงทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน




สำหรับตัวน้ำตกนั้นมีความสูง 74 เมตร กว้าง 81 เมตรอันตระการตา และจุดเด่นของน้ำตกหวงกั่วซู่ คือเป็นน้ำตกที่สามารถชมวิวได้ทั้งจากทั้งด้านหน้าและด้านหลังน้ำตก เป็นอีกความงามที่ธรรมชาติได้บรรจงไว้ให้


น้ำตกหวงกั่วซู่ ประกอบด้วย 3 อัศจรรย์ คือเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย วิวสวยมหัศจรรย์ชมได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฟองของน้ำใสกระจายดุจดังสำลี ยามกลางวันจะเกิดสีรุ้ง และสายหมอกบางๆ ในยามเย็น น้ำตกมีหลายชั้นจะเป็นน้ำตกซ้อนน้ำตก

นอกจากนั้น น้ำตกแห่งนี้ยังเคยเป็นสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนต์สุดฮิต ที่ชื่อเรื่องว่า "ไซ อิ๋ว" ซึ่งเป็นภาพยนต์ที่มีชื่อเสียงของประเทศจีนอีกด้วย
Read more

พีค ดิสทริกท์ เส้นทางแห่งธรรมชาติและทิวเขา

พีค ดิสทริกท์ (Peak-District) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ครบครับสำหรับทุก ๆ คน ในทางตอนเหนือของพีค ดิสทริกท์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นแบบสบาย ๆ ในทุ่งหญ้ามัวร์โล่งกว้าง พร้อมชมทัศนียภาพที่งดงามและชมสถานที่สำคัญ อาทิ เขื่อนเดอร์เวนท์






ส่วนทางทิศใต้ของ พีค ดิสทริกท์ นั้นนักท่องเที่ยวสามารถเดินไปเรื่อยๆ ริมฝั่งแม่น้ำท่ามกลางทิวเขาที่เต็มไปด้วยป่าไม้และตั้งอยู่ห่างไกลจากเมือง ที่สับสนวุ่นวาย เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของพีค ดิสทริกท์มีหน้าที่นำนักท่องเที่ยวในการเดินป่าและมีการให้คำแนะนำที่เป็น ประโยชน์ มีเส้นทางต่าง ๆ ให้เลือก

นับตั้งแต่การเดินทางไกลไปตาม เส้นทางเพ็นนินซูล่า เวย์ หรือเส้นทางเดินทางไกลอื่น ๆ รวมถึงเส้นทางแห่งวิญญาณซึ่งมีตำนานอันน่าสะพรึงกลัว หรือเส้นทางเดินเพื่อชมหมู่บ้านหรือเมืองเล็ก ๆ ในบริเวณนั้น








นักท่องเที่ยวอาจเลือกเยี่ยมชมคฤหาสถ์ที่ยิ่งใหญ่อลังการอย่างคฤหาสถ์ แชทส์เวิร์ธซึ่งมีทั้งพื้นที่ฟาร์มและสนามเด็กเล่นแบบมียางรถให้ปีนเล่น หรือ ถ้ำที่มีหินบลู จอห์น หินงอกและหินย้อย

และยังมีบริการโดยสารเรือ ท่องใต้ภิภพด้วย นอกจากนั้นที่นี่ยังมีกลุ่มหินเป็นรูปวงกลม ปราสาท พิพิธภัณฑ์และโรงสีที่ยังคงใช้งานอยู่ให้นักท่องเที่ยวได้สำรวจ

นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดชิมโอ็ตเค้กรสชาติดั้งเดิมของฮาร์ทิงตัน สติลตัน ดื่มเบียร์พื้นบ้านของที่นี่แล้วตามด้วยพุดดิ้งแสนอร่อยของเบคเวลล์เป็นของ หวาน




พีค ดิสทริกท์ มีที่พักให้เลือกหลากหลาย นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักในฟาร์มเกษตรหรือที่พักแบบหรูที่มีเตียงสี่เสา หรือจะเลือกพักในห้องแบ่งเช่าของครอบครัวหรือจะเลือกที่พักแบบแปลกใหม่ใน คฤหาสถ์แนวเอลิซาบีธันก็ได้




ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับหรือจะเข้ามาพักค้าง คืน พีค ดิสทริกท์ยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวเสมอด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเหมาะสำหรับทุก ๆ คน ข้อมูลเพิ่มเติม Visitbritain
Read more

แตะหมอก ชมดาวที่ ดอยหลวงเชียงดาว

แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า บ้านเชียงดาวกำเนิดขึ้นในยุคสมัยใด แต่เรื่องราวของพื้นที่นี้ ก็ได้ปรากฏอยู่ในพงศาวดารต่างๆ เช่น


ในพงศาวดารโยนก ได้อ้างถึงเมื่อประมาณ 600 ปีก่อน ที่พระยาเม็งรายมหาวีรกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งเสวยราชสมบัติในนครเชียงใหม่ ได้ยกเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงครามแก่เจ้าไชยสงคราม ราชโอรสองค์ที่ 2

และกล่าวถึงเมืองเชียงดาวอีกครั้งในสมัยพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกอง ทัพเข้ามา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2109 และเมื่อคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงตั้งทัพที่บ้านเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเดินทัพเข้าตีเมืองอังวะ




จากหลักฐานต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า เมืองเชียงดาว เป็นเมืองเก่าแก่โบราณ และในช่วงเวลานับเป็นร้อยปีของประวัติศาสตร์ เมืองเชียงดาวก็คงประสบภัยสงคราม ทำให้เมืองร้างไปหลายครั้ง และก่อตั้งขึ้นมาใหม่อีกหลายครั้งเช่นเดียวกับเมืองเชียงใหม่และหัวเมือง อื่นๆ

สำหรับชุมชนเชียงดาวในปัจจุบัน เกิดจากการอพยพครัวเรือนของชาวบ้านใน ต. แม่นะ ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2430 เนื่องจาก พญาพิบาลปรมัตต์โวหาร (อินต๊ะข้อ) หรือ แสน รัตนะคูหา ผู้ค้นพบถ้ำเชียงดาวโดยบังเอิญ จากการถางป่าบริเวณหน้าถ้ำ เพื่อปรับเป็นพื้นที่ทำการเกษตร และได้อพยพครอบครัวของตนไปตั้งถิ่นฐานที่หน้าถ้ำ

ต่อมาชาวบ้านใน ต.แม่นะ หลายครัวเรือน ได้อพยพติดตามไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณดังกล่าวด้วยเกิดเป็นชุมชนใหม่ เรียกขานว่า บ้านถ้ำเชียงดาวตามชื่อของถ้ำ ตราบจนทุกวันนี้


บ้านถ้ำเชียงดาว หรือที่เรียกกันว่า ดอยหลวงเชียงดาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 80 กิโลเมตร

ดอยหลวงเชียงดาว เป็นภูเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ที่ทอดตัวในแนวเหนือใต้ เป็นหินปูนเกิดในยุคเพอร์เมียน อายุประมาณ 230 – 250 ล้านปี

ซึ่งทำให้ท้องทะเลที่เคยมีตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต ถูกบีบอัดและยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 300 - 2,225 เมตร จากที่ราบริมแม่น้ำถึงยอดดอยหลวงเชียงดาว มีความสูงเป็นอันดับสามของประเทศ ถัดจากดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปก แต่นับได้ว่าเป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย


การไหลของน้ำยอดเขาซึมลงใต้ดินสู่ที่ราบเชียงดาวทางทิศตะวันออก ทำให้พื้นหินปูนด้านล่างถูกกัดเซาะ เกิดเป็นโพรงหรือถ้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า ถ้ำ เชียงดาว ซึ่งมีลำห้วยใต้ดินที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดทั้งปี เป็นต้นน้ำของลำห้วยน้อยใหญ่หลายสาย ทั้งที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง น้ำแม่แตง และแม่ตอง

ด้วยลักษณะทางธรรมชาติดังกล่าว ทรัพยากรที่พบบนดอยหลวงเชียงดาวจึงมีความหลากหลาย และแตกต่างจากยอดดอยอีกสองแห่ง นักพฤกษศาสตร์เคยสำรวจไว้ว่าดอยหลวงเชียงดาวเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ของสภาพป่า มีพรรณไม้ประมาณ 1,800 ชนิด และมีพืชเฉพาะถิ่นจำนวนมาก

ดอยหลวงเชียงดาว มีฤดูกาล 3 ฤดู เช่นเดียวกับท้องที่อื่น ๆ คือช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน มีฝนตกชุกที่สุดอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนแห้งแล้งมากในเดือนมีนาคมถึงเมษายน อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส

ฤดูหนาวจะมีช่วงระยะเวลานานมาก คือ ประมาณ ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม มีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียส สูงสุด 20 องศาเซลเซียสตอนเช้าจะมีหมอกเกาะอยู่ตามใบไม้ใบหญ้าสวยงามราวหิมะตก ในตอนกลางวันจะมองเห็นทะเลหมอกได้อย่างชัดเจน

ดอยหลวงเชียงดาว ศูนย์ประสานงานกลุ่มรักษ์ดอยหลวง 90 หมู่ 5 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170 โทรศัพท์ : 08 1748 4871 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Read more

หอมกลิ่นความอร่อยที่ ร้านชั้นขนมหวาน


ร้านชั้นขนมหวาน เริ่มเปิดให้บริการในปี พศ. 2547 / คศ. 2004 เป็น ร้านขนมไทยใส่ไอเดีย ให้บริการขนมไทย ทั้งแบบดั้งเดิม และ ขนมไทยประยุกต์ รวมถึงขนมหวาน ประเภทเบเกอรี่ มีบริการจัดกระเช้า จาน พาน ตะกร้า ขนมตามเทศกาล ต่าง ๆ เน้น หีบห่อ และรูปลักษณ์ที่ทันสมัย และ สวยงาม

ลักษณะการตกแต่งร้านเป็นแบบสมัยใหม่ ( modern ) โดยใช้โทนสีเขียวอ่อน และสีขาว เป็นหลัก ตกแต่งเป็นแถบสีคล้าย barcode เน้นความสบายตา โปร่ง โล่งสบาย เป็นการเปลี่ยนแปลงร้านขนมไทยจากเดิมที่จะตกแต่งร้านแบบไทย ให้เป็นร้านที่มีความทันสมัย สีสันสดใส ติดไฟสว่าง

ชั้นขนมหวาน กำเนิดมาจาก ผู้มีใจรักขนมไทย และ อยากให้ขนมไทยที่มีเสน่ห์ มีความอร่อย ความสวยงาม อยู่คู่กับคนไทย และเมืองไทย รวมถึงอยากให้ขนมไทยสร้างชื่อ ให้ชาวต่างชาติ ได้ลิ้มลอง โดยได้มีการรวบรวมสูตรจากที่ต่าง ๆ และ ศึกษาค้นคว้าสูตรขนมจากในอดีต สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ นำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัย โดยไม่ว่าจะเป็นสูตรขนมอะไรก็ตามทางร้านมีปณิธานในการทำขนมว่า จะใช้แต่ของดี มีคุณภาพ

สำหรับการผลิตขนม เหมือนเราทำรับประทานเอง เพื่อตัวเราเอง เพื่อคนที่เรารัก เพื่อคนในครอบครัว ดังนั้นวัตถุดิบที่ใช้จึงผ่านการคัดสรรอย่างดี แต่การที่จะใช้สูตรขนมดั้งเดิม แบบโบราณแท้ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย เริ่มจากปัจจัยสำคัญคือวัตถุดิบ เพราะในปัจจุบันวัตถุดิบบางชนิดไม่สามารถหาได้ อีกทั้งปัจจัยในแง่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือจากเดิมในการเลือกอาหารจะเน้นที่รสชาด หรือความอร่อยเป็นหลัก

แต่ในปัจจุบัน การเลือกรับประทาน มีส่วนประกอบอื่นเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบ ทั้งรูปร่าง หน้าตา รวมถึงความสวยงามของหีบห่อ ( packaging ) ซึ่งไม่แน่ในบางกลุ่ม บางบุคคล หน้าตาอาจเป็นปัจจัยหลักในการเลือกก็เป็นได้ รวมถึงทางร้านยังมีแนวคิดที่อยากให้คนรุ่นใหม่ยอมรับ และเปิดใจให้ขนมไทย ทำให้ขนมจากชั้นขนมหวานมีรูปแบบ และหน้าตาที่เปลี่ยนไปจากเดิม

รสชาติของขนมจากร้านชั้นขนมหวาน จะมีรสชาติไม่หวานมาก เนื่องด้วยความห่วงใยในสุขภาพ ของผู้บริโภค ทางร้านจึงไม่ทำขนมที่หวานมาก ถึงแม้จะมีชื่อร้านว่า ชั้นขนมหวานก็ตาม รวมถึงที่ร้านยังมีเมนูขนมเพื่อสุขภาพ เป็นเมนูขนมที่ไม่ได้ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบ แต่จะใช้กะทิธัญพืชแทน เพราะกะทิที่ได้จากมะพร้าวจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นตัวก่อให้เกิด การอุดตันของเส้นเลือด และเป็นบ่อเกิดของคอเลสเตอรอลด้วย

ขนมไทยจากชั้นขนมหวาน มีหลายรูปแบบ หรือถ้าแบ่งอย่างง่าย ๆ ขนมจากชั้นขนมหวาน มีสอง ประเภท คือขนมสด กับ ขนมแห้ง โดยแบ่งแยกจาก อายุของการเก็บ เป็นสำคัญ ขนมสดโดยส่วนมากจะสามารถบริโภคได้แบบวันต่อวัน ( ไม่แนะนำให้เก็บข้ามคืน โดยจะมีการระบุรายละเอียดวันผลิตไว้ที่กล่อง ) ส่วนขนมแห้ง แล้วแต่ประเภทของขนมนั้น ๆ ซึ่งมีระยะเวลาการเก็บ หรือ อายุของสินค้า มีตั้งแต่ระยะเวลาเป็น วัน บางชนิดเก็บได้เป็น สัปดาห์ หรือบางชนิดสามารถเก็บได้เป็นหลักเดือน

ในปัจจุบันขนมสดทุกประเภทจะเสริฟ์ในถ้วยพลาสติกใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ขนมทุกตัวผ่านการคัดสรร ดัดแปลงมาบ้างบางส่วน เช่น ข้าวเหนียวหน้านวล หรือข้าวเหนียวตัดที่เราอาจจะคุ้นเคยกับข้าวเหนียวขาวหน้ากะทิ วางตกแต่งด้วยถั่วดำ

แต่การทานข้าวเหนียวตัด หรือข้าวเหนียวหน้านวลในสมัยโบราณ นิยมทานกับทองหยอด ทางร้านจึงนำมาประยุกต์ด้วยการวางเม็ดทองหยอดบนหน้าข้าวเหนียว ที่มีกะทิ หยอดหน้าอยู่แล้ว หน้าตาจะออกมาคล้ายไข่ดาว มีสีส้มของทองหยอดอยู่ตรงกลางคล้ายไข่แดง มีสีขาวของกะทิล้อมรอบ เปรียบเหมือนไข่ขาว ทำให้ความอร่อยสามารถมารวมอยู่ในคำเดียว และยังเป็นการเพิ่มความสวยงามอีกด้วย

ขนมแห้งของร้านชั้นขนมหวานก็มีหลากหลายประเภท จะมีทั้งขนมจากอดีตที่สามารถหาได้ยากในปัจจุบัน เช่น ท๊อฟฟี่ไข่เต่า หรือไข่นกกระทา ท็อฟฟี่เยลลี่ ที่มีกระดาษห่อสีสันสวยงาม เปลือกห่อสามารถนำมาละลายน้ำจุ่มเป็นสี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นบรรยากาศของความอบอุ่นในครอบครัว เพราะหลายครั้งที่ร้านชั้นขนมหวาน จะมีเสียงบอกเล่าจากยาย สู่หลาน หรือ แม่เล่าให้ลูกฟัง ถึงเรื่องราวในอดีต “ว่านี่ทอฟฟี่สี สมัยเด็ก ๆ นะ

หลังจาก อร่อยกับขนมในห่อแล้ว ห่อกระดาษยังเอามาละลายน้ำเป็นสีต่าง ๆ ถือเป็นของเล่นสุด ฮิต” บางกลุ่ม เพื่อนก็จะเข้ามาโต้เถียงถึงชื่อของขนมไข่นกกระทา บ้างก็เรียกไข่เต่า บางบ้านเรียกไข่ไดโนเสาร์ บางบ้านก็เป็นไข่จิ้งจก โต้เถียงว่าเราเรียกแบบนี้ แบบนั้น รวมถึงบ่อยครั้ง เด็กรุ่นใหม่ก็เข้ามาสอบถามถึงขนมไทยโบราณชื่อต่าง ๆ ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร รสชาติเป็นแบบไหน

สูตรของขนมจากชั้นขนมหวานสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

1. ขนมไทยสูตรดั้งเดิม ( ขนมไทยสูตรโบราณ ) อย่างที่บอกแต่แรก ว่าอาจจะไม่เหมือนสมัยโบราณ 100 % เนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านวัตถุดิบ แต่ทางร้านก็พยายามคงไว้ให้คล้ายเดิมมากสุด เช่น จ่ามงกุฎ / ทองเอก / เสน่ห์จันทร์

2. ขนมไทยประยุกต์ หมายถึงขนมไทยแบบดั้งเดิม แต่ นำมาเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ทั้งด้านหน้าตา รูปลักษณ์ รวมถึงส่วนผสมที่ใส่ลงไป เช่น ตะโก้ที่มีการกลับหน้า

3. ขนมคิดใหม่ เป็นขนมประเภท fusion ที่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นขนมไทย กับขนมต่างชาติ มีความลงตัวทั้งรสชาติ และหน้าตา เช่น ข้าวเหนียวครีมเผือก / เค้กตะโก้รสต่าง ๆ

ร้านชั้นขนมหวาน 895 / 54 (จุฬา ซอย 5 ) ถนน พระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. 10330 เบอร์โทรศัพท์ 0-2612-3399 , 0-2612-3400 ข้อมูลเพิ่มเติม ร้านชั้นขนมหวาน

Read more

เที่ยวสุขใจกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติสถานีเกษตรหลวง อ่างขาง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันสืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระ นางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ทำการปลูกฝิ่นแต่ ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่นของประเทศได้




ต่อมาจึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศหนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อ พื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินจากชาวเขาในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง

จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งประธานมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอก เมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

กิจกรรมท่องเที่ยว “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”




1.กิจกรรมขี่จักรยาน เส้นทางสำหรับขี่จักรยานเพื่อชมธรรมชาติ ที่นักท่องเที่ยวนิยมจะเป็นเส้นทางด้านในสถานีฯ เพราะตลอดเส้นทางจะได้ชมธรรมชาติและแปลงทดลองเกษตร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยานจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ แต่หากอยากนำจักรยานคู่ใจขึ้นมาปั่นบนนี้แล้วจะรู้สึกมั่นใจในการขี่มากกว่า ก็ไม่ว่ากัน

2.การดูนก ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ที่มีนกมากมายกว่า 1,000 สายพันธุ์ อาทิเช่น Sunbird,นกพญาไฟ และบางส่วนก็เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์และหาดูได้ยากสถานที่ที่เหมาะสำหรับการ ดูนกบริเวณดอยอ่างขางคือบริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ (อยู่ด้านขวามือหากขับรถลงมาจากจุดกางเต็นท์ของสถานีฯ),บริเวณรอบๆรีสอร์ท ธรรมชาติอ่างขาง ส่วนด้านในสถานีฯก็จะเป็นจุดเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้านหลังสำนักงานของสถานีฯ

3.การขี่ฬ่อชมธรรมชาติ การขี่ฬ่อก็เป็นวิธีการชมความงามในธรรมชาติภายในสถานีฯได้ดีอีกวิธีหนึ่ง ฬ่อ (สัตว์ลูกผสมระหว่างม้าและลา) ซึ่งฬ่อเป็นสัตว์พาหนะที่สำคัญในการเดินทางและขนผลผลิตของชาวเขาในแถบนี้ หากนักท่องเที่ยวสนใจอยากจะลองขี่ฬ่อก็สามารถติดต่อได้ที่สถานีเกษตรหลวง อ่างขาง

4.เดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ 2 แห่งด้วยกันแห่งแรกคือ

เส้นทางเดินชมกุหลาบพันปี (Rhododendron)จะอยู่ด้านนอกห่างจากปาก ทางเข้าสถานีฯประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยจุดที่สูงที่สุดคือ เนินพันเก้า ซึ่งมีความสูงถึง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเล นักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้าเพื่อขึ้นไปถึงจุดยอดเป็นระยะทาง 500-800 เมตร ซึ่งจะชมความงามของกุหลาบพันปีได้ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนในช่วงเดือนอื่นก็ยังจะมีพันธุ์ไม้แปลกตาให้ได้ชื่นชมอีกเช่นกัน


เส้นทางศึกษาธรรมชาติของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางนั้นเป็นเส้นทาง ที่กำหนดขึ้นบริเวณรอบสถานี ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 10 เส้นทางด้วยกันและต้นไม้ที่ปลูกในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินั้นจะเป็นต้นไม้ ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวันทั้งหมด

โดยจะขอแนะนำเส้นทางทั้งหมดตามลำดับดังนี้


ซอยดงกระถินดอย จะเริ่มต้นเส้นทางบริเวณหลังพระตำหนัก และระยะทางโดยรวมของ เส้นทางนี้ประมาณ 200 เมตร ไม้หลักที่ปลูกจะเป็น ต้นเมเปิ้ลหอม, ต้นกระถินดอย และ ต้นจันทร์ทอง

ซอยสวนป่าผสม เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องมาจาก ซอยดงกระถินดอย ไม้หลักที่ปลูกจึงเป็นประเภทเดียวกัน ระยะทางซอยนี้ ประมาณ 970 เมตร

ซอยสาม พ.ศ.จะเชื่อมต่อทางมาจากซอยสวนป่าผสม ไม้หลักที่ปลูก นอกจากจะเป็นชนิดเดียวกับ ซอยดงกระถินดอยและซอยสวนป่าผสมแล้ว ไม้อีกชนิด ที่ปลูกเฉพาะเส้นทางนี้ คือ ต้น Zelkova ระยะทางโดยรวมคือ 1,650 เมตร

ซอยสนหนามบน และ ซอยสนหนามล่าง สนหนามจะเป็นไม้หลักที่ปลูก ในสองเส้นทางนี้ ระยะทางของ ซอยสนหนามบนจะประมาณ 730 เมตร ส่วน ซอย สนหนามล่างจะมีระยะทาง 1,100 เมตร

ซอยสนซูงิ เส้นทางนี้จะมีสนซูงิปลูกเป็นไม้หลัก และมีระยะทางโดยรวมประมาณ 330 เมตร

ซอยนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระดอย)จุดเริ่มต้นของเส้นทางนี้จะอยู่ บริเวณด้านหลัง สำนักงานของสถานี จะมีระยะทาง 530 เมตร และจะมีต้นนางพญาเสือโคร่งอยู่ตลอดเส้นทาง

ซอยสวนไผ่ จะเริ่มต้นเส้นทางบริเวณอ่างเก็บน้ำของสถานี ซึ่งมีไผ่หลายชนิดที่ปลูกตลอด เส้นทาง อาทิ ไผ่บงใหญ่, ไผ่ลวก และ ไผ่หมาจู๋ จะมีระยะทาง 670 เมตร

ซอยหุบผาขาวต้นไผ่ จะเป็นไม้หลักที่ปลูกในเส้นทางนี้ และชื่อของซอยนี้จะเรียกตามลักษณะเส้นทางที่ต้องเดินผ่านถ้ำในสถานีที่ชื่อ ถ้ำหุบผาขาว ระยะทางของเส้นทางนี้ ประมาณ 1,100 เมตร

ซอยศูนย์สาธิต การใช้ไม้เริ่มต้นเส้นทางจากด้านหลังศูนย์สาธิตการใช้ไม้สมพรสหวัฒน์ โดยจะผ่านแปลงการบูร แล้วเดินเรื่อยไปจนจดซอยสนหนามล่าง ระยะทาง ประมาณ 450 เมตร

สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สถานีเกษตรหลวงอ่าง ขาง
Read more

MENU



คุยกันถูกคอก็แบบนี้หล่ะ

ShoutMix chat widget